วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา " มุ่งจัดการศึกษาวิชาชีพด้วยเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างมีคุณภาพตามความต้องการของตลาดแรงงาน "

เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด การใช้เว็บไซต์นี้ต่อไปแสดงว่าคุณยอมรับการใช้งานเว็บไซต์นี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา

นโยบายใช้งานคุกกี้
ประกาศรับสมัครนักเรียน นักศึกษาใหม่ รอบเพิ่มเติม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่องานทะเบียนโทร 0-7431-1202 ต่อ 517

วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา จัดตั้งขึ้นบนเนื้อที่ราชพัสดุ จำนวน 7 ไร่ 6.8 ตารางวา และในปี พ.ศ. 2518 ได้ขอใช้ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพิ่มอีกจำนวน 4 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา รวมเนื้อที่ทั้งหมด 11 ไร่ 1 งาน 56.8 ตารางวา เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2481 มีชื่อว่า “โรงเรียน ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสงขลา” สังกัดกรมวิชาการ กระทรวงธรรมการ โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 เข้าเรียนวิชาแผนกช่างเย็บเสื้อผ้า แผนกช่างทอผ้า ส่วนสถานที่เรียนต้องแยกกันเรียน คือ แผนกช่างเย็บเสื้อผ้าใช้อาคารชั้นล่างของบ้านพักศึกษาธิการจังหวัดเป็นสถานที่เรียน (บริเวณวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลาในปัจจุบัน)

 

พ.ศ. 2482 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง และโรงฝึกงานทอผ้า 1 ห้อง ในที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งอยู่ปัจจุบัน แล้วย้ายสถานที่เรียนทั้งสองแผนกมาอยู่รวมกัน
พ.ศ. 2483 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง และโรงฝึกงานทอผ้า 1 หลัง
พ.ศ. 2490 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนการช่างสตรีสงขลา” สังกัดกองโรงเรียนการช่าง กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนแผนกการช่างสตรีเพียงแผนกเดียว และเรียกชื่อระดับชั้นว่า มัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น รับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าเรียน
พ.ศ. 2492 ขยายหลักสูตรออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น หลักสูตร 2 ปี และระดับมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย หลักสูตร 3 ปี โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 หรือเทียบเท่าเข้าเรียน รวม 5 ปี เทียบเท่าหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษา
พ.ศ. 2499 ขยายหลักสูตรขึ้นสูงอีก 3 ปี โดยเปิดสอนระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง รับผู้สำเร็จการศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าเข้าเรียนและยกเลิกหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
พ.ศ. 2504 ได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 เป็นหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ รับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6 หรือเทียบเท่า เข้าเรียน หลักสูตร 3 ปี
พ.ศ. 2507 ได้เข้าร่วมโครงการปรับปรุงสถานศึกษาของกรมอาชีวศึกษาด้วยความร่วมมือจากองค์การยูนิเซฟ โดยให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรอบรมครูสอนวิชาต่าง ๆ รวมทั้งให้การสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนการสอน และเปิดสอนใน 4 แผนกวิชา คือ
(1) แผนกผ้าและการตัดเย็บ
(2) แผนกอาหารและโภชนาการ
(3) แผนกคหกรรมศาสตร์ และ
(4) แผนกศิลปหัตถกรรม
พ.ศ. 2508 เริ่มรับนักเรียนชายเข้ามาเรียน
พ.ศ. 2516 เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น โรงเรียนอาชีวศึกษาสงขลา
พ.ศ. 2518 ได้มีการขอใช้ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพิ่มอีก จำนวน 4 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา รวมเนื้อที่ทั้งหมด 11 ไร่ 1 งาน 56.8 ตารางวา
พ.ศ. 2519 การจัดการศึกษาใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทวิชาคหกรรมศาสตร์ รับผู้สำเร็จการศึกษาต่อจากหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ เข้าเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง และยกฐานะเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา วิทยาเขต 2 โดยรวมกับโรงเรียนเทคนิคสงขลา ซึ่งเป็นวิทยาเขต 1
พ.ศ. 2521 เปิดสอนแผนกวิชาพาณิชยการ
พ.ศ. 2522 แยกจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา วิทยาเขต 2 มาเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา และรับโอนนักเรียนแผนกวิชาพาณิชยการจากโรงเรียนเทคนิคสงขลา วิทยาเขต 1
พ.ศ. 2525 เปิดแผนกวิชาศิลปประยุกต์ โดยรับนักเรียนเข้าเรียนในปีการศึกษา 2527
พ.ศ. 2527

เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค 4 สาขาวิชา คือ
(1) สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์ทั่วไป
(2) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
(3) สาขาวิชาธุรกิจบริการ และ
(4) สาขาวิชาการบัญชี

พ.ศ. 2526-2532 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น จำนวน 3 หลัง คือ อาคารเรียนสำหรับนักเรียน นักศึกษา แผนกวิชาคหกรรม แผนกวิชาอาหารและโภชนาการ แผนกผ้าและเครื่องแต่งกาย ปัจจุบันคือ อาคารเรียน 2 , 3 และอาคารเรียน 4
พ.ศ. 2530 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างหอประชุมเฉลิมพระเกียรติและอาคารเรียน 6
พ.ศ. 2530-2532 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารอำนวยการ
พ.ศ. 2533 ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครูแบบแฟลต 4 ชั้น 14 หน่วย จำนวน 1 หลัง
พ.ศ. 2537 ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักคนงานภารโรงแบบแฟลต 4 ชั้น 14 หน่วย จำนวน 1 หลัง และได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
พ.ศ. 2538 ได้รับงบประมาณพัฒนาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 400,00 บาท ก่อสร้างศาลาที่พักผู้ปกครอง จำนวน 1 หลัง ซึ่งปัจจุบันได้ทำการรื้อถอนเพื่อสร้าง อาคาร ปฏิบัติการเอนกประสงค์พร้อมครุภัณฑ์ (อาคารการโรงแรม) รวมถึงในปีดังกล่าวได้ทำการ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและระบบทวิภาคี กลุ่มวิชา การโรงแรม และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ภาคสมทบ สาขาวิชาการบัญชี
พ.ศ. 2539 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนพร้อมกับได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู แบบแฟลต 4 ชั้น 14 หน่วย จำนวน 1 หลัง งบประมาณทั้งสิ้น 5,695,000 บาท ต่อมาได้รับงบประมาณเพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ 6 ชั้น จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 28,800,000 บาท ปัจจุบันคือ อาคารเรียน ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ สิงหนคร (รัตน์ ประธานราษฎร์นิกร) พร้อมกันนี้ได้ทำการเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ภาคสมทบ สาขาวิชาการตลาด
พ.ศ. 2540 ได้รับงบประมาณก่อสร้างศูนย์วิทยบริการ จำนวน 8,090,000 บาท ปัจจุบันคือ อาคารเรียน ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการสิงหนคร (รัตน์ ประธานราษฎร์นิกร)
พ.ศ. 2541 ได้เปิดวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา สาขาสิงหนคร (รัตน์ ประธานราษฎร์นิกร) เป็นวิทยาเขต 2 ขึ้นที่ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยได้รับบริจาคที่ดินจาก ดร.รัตน์ ประธานราษฎร์นิกร จำนวน 25 ไร่ และได้จัดซื้อเพิ่มอีกจำนวน 1 ไร่ 3 งาน 36 ตารางวา รวมทั้งสิ้น 26 ไร่ 3 งาน 36 ตารางวา
พ.ศ. 2547 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ 88 ปี รัตน์ ประธานราษฎร์นิกร โดยได้รับงบประมาณ 19,790,000 บาท ปัจจุบันคือ อาคารเรียน ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ สิงหนคร (รัตน์ ประธานราษฎร์นิกร)
พ.ศ. 2550 ได้รับอาคารจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ก่อสร้างโดยมูลนิธิรัตน์ ประธานราษฎร์นิกร โดยมีมูลค่าการก่อสร้าง จำนวน 815,000 บาท ซึ่งปัจจุบันคือ อาคารเรียน ณ วิทยาลัยเทคโนโลยี และการจัดการสิงหนคร (รัตน์ ประธานราษฎร์นิกร)
พ.ศ. 2551 ได้รับงบประมาณจำนวน 6,392,201.09 บาท สำหรับใช้ในการก่อสร้างอาคารเรียน 70 ปี
พ.ศ. 2552 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา สาขาสิงหนคร (รัตน์ ประธานราษฎร์นิกร) ได้แยกตัว เป็นวิทยาลัยจัดตั้งใหม่ โดยใช้ชื่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการสิงหนคร (รัตน์ ประธานราษฎร์นิกร) โดยมีผู้อำนวยการคนแรก คือ นายสุรพล เอี่ยมสำอางค์
พ.ศ. 2553 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารปฏิบัติการเอนกประสงค์พร้อมครุภัณฑ์ (อาคารปฏิบัติการโรงแรม) โดยได้รับงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 25,000,000 บาท
พ.ศ. 2557 ได้รับเงินก่อสร้างอาคารศูนย์วิทยบริการ (อาคารเรียน 7) พื้นที่ใช้สอย 1,088 ตารางเมตร พร้อมครุภัณฑ์ เป็นเงินจำนวน 9,094,000 บาท
พ.ศ. 2558 ได้ทำการก่อสร้างอาคารศูนย์วิทยบริการ (อาคารเรียน 1 ) พื้นที่ใช้สอย 1,152 ตารางเมตร พร้อมครุภัณฑ์ เป็นเงินจำนวน 9,990,000 บาท ด้วยเงินรายได้สถานศึกษา
พ.ศ. 2560 ได้ทำการก่อสร้างอาคารศูนย์ปฎิบัติการอาหารพร้อม พร้อมครุภัณฑ์ เป็นเงินจำนวน 2,067,400 บาท ด้วยเงินงบประมาณ
พ.ศ. 2565 ได้ทำการก่อสร้างอาคารโดมเหล็กเสริมคอนกรีต หลังคาคลุมด้วย Metal Sheet เคลือบ AI – Zn ชั้นเดียวโล่งไม่มีฝาผนังกั้นขนาดกว้าง 24.00 × 43.00 เมตร เป็นเงินจำนวน 6,xxx,xxx ล้านบาท

 

ปัจจุบันวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาได้จัดการศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตรระบบปกติ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จำนวน 4 ประเภทวิชา คือ

          (1) ประเภทวิชาพาณิชยกรรม

          (2) ประเภทวิชาศิลปกรรม

          (3) ประเภทวิชาคหกรรม

          (4) ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

 

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำนวน 4 ประเภทวิชา คือ

          (1) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ

          (2) ประเภทวิชาศิลปกรรม

          (3) ประเภทวิชาคหกรรม

          (4) ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

 

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ภาคสมทบ จำนวน 1 ประเภทวิชา คือ ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ


 ระบบ RMS

  ระบบห้องสมุด


  ไปยังเว็บไซต์เดิม


 ระบบศธ.02 


 ระบบสมัครเข้าศึกษาต่อ

|| ข่าวประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา


  1. ข่าวอัพเดท
  2. จัดซื้อจัดจ้าง
  3. รับสมัครงาน
  4. ชมรมวิชาชีพนักศึกษา

Lorem Ipsum ...

 สถาบันอาชีวศึกษาภาคใต้3 ประชาสัมพันธ์การสรรหาผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้3 

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรรเพื่อจ้างเป็นพนักงานราชการ

 ประกาศผลการประเมินสมรรถนะครั้งที่1 เพื่อจัดจ้างเป็นพนักงานราชการ

โครงการหลังคาเขียว ดำเนินการโดยชมรมวิชาการบัญชี

green


||  แนะนำข้อมูลของสาขาที่เปิดสอน  || 


พันธกิจ

เป้าหมายของเรา

ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงสู่ตลาดแรงงาน

พันธกิจที่ 1 พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีคุณภาพและเป็นมาตรฐานด้วยหลักธรรมาภิบาล

พันธกิจที่ 2 พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะวิชาชีพและมีคุณธรรมจริยธรรมสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

พันธกิจที่ 3 ส่งเสริมครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีสมรรถนะหลักและสมรรถนะด้านวิชาชีพอย่างเป็นมาตรฐาน

พันธกิจที่ 4 สนับสนุนการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ

พันธกิจที่ 5 ยกระดับเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาและบริการวิชาการวิชาชีพสู่ชุมชน


 นางอมรรัตน์  จันวัฒนะ
ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา


 

||   ABOUT SCHOOL  ||

แนะนำวิทยาลัย

    วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา จัดตั้งขึ้นบนเนื้อที่ราชพัสดุ จำนวน 7 ไร่ 6.8 ตารางวา และในปี พ.ศ. 2518 ได้ขอใช้ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพิ่มอีกจำนวน 4 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา รวมเนื้อที่ทั้งหมด 11 ไร่ 1 งาน 56.8 ตารางวา เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2481 มีชื่อว่า “โรงเรียน ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสงขลา” สังกัดกรมวิชาการ กระทรวงธรรมการ

 

โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 เข้าเรียนวิชาแผนกช่างเย็บเสื้อผ้า แผนกช่างทอผ้า ส่วนสถานที่เรียนต้องแยกกันเรียน คือ แผนกช่างเย็บเสื้อผ้าใช้อาคารชั้นล่างของบ้านพักศึกษาธิการจังหวัดเป็นสถานที่เรียน (บริเวณวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลาในปัจจุบัน)

||  รองผู้อำนวยการสถานศึกษา  ||

| วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา


 
นายชาญชัย ประทีปเกาะ
รองผู้อำนวยการฯฝ่ายบริหารทรัพฯ
 
นายกรีฑา ดิษโสภา
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
 
นายธีระ  โพธิ์ทอง
รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาฯ
 
นางสาวอภิชญา  คุณาชีวะ
รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานฯ

||  Fanpage ||


| งานประชาสัมพันธ์

||   GOOGLE CALENDER   ||

ปฏิทินกิจกรรม

" Google MAP "

วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา

Songkhla Vocational College