วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา " มุ่งจัดการศึกษาวิชาชีพด้วยเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างมีคุณภาพตามความต้องการของตลาดแรงงาน "

เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด การใช้เว็บไซต์นี้ต่อไปแสดงว่าคุณยอมรับการใช้งานเว็บไซต์นี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา

นโยบายใช้งานคุกกี้
ร่วมลงนามถวายพระพรออนไลน์ในระหว่างวันที่ 15-31 กรกฎาคม 2568
ร่วมลงนามถวายพระพรคลิก

 ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีมอบปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 วันที่ 4 สิงหาคม 2567 เวลา 09.56 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีมอบปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ณ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี โดยมี พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คณะผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คณาจารย์ และนักศึกษา ให้การต้อนรับ จากนั้น ผู้แทนพระองค์ มอบปริญญากิตติมศักดิ์แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และมอบปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 2,256 คน ในโอกาสนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี ได้ให้โอวาทแก่บัณฑิตสถาบันการอาชีวศึกษา ความว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ข้าพเจ้ามาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันการอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ในวันนี้ ขอแสดงความชื่นชมกับผู้ทรงคุณวุฒิและบัณฑิตทุกคน ชาติบ้านเมืองของเรานั้น ต้องอาศัยผู้มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ มาช่วยกัน สร้างสรรค์และพัฒนา. บัณฑิตจากสถาบันการอาชีวศึกษา ผู้มีความรู้ในสายเทคโนโลยีและปฏิบัติการ ย่อมเป็นกำลังสำคัญส่วนหนึ่ง ซึ่งขาดไม่ได้ในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญมั่นคง. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อความเป็นจริงปรากฏอยู่ว่า ในปัจจุบันและในอนาคต วิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ จะยิ่งเข้ามามีบทบาทและเป็นปัจจัยสำคัญ ทั้งในการดำเนินชีวิต การทำงานและการพัฒนาประเทศมากขึ้น จึงจำเป็นที่คนเราจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ และฝึกฝนทักษะทางเทคโนโลยีให้เพิ่มพูนขึ้น เพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างรู้เท่าทัน และบังเกิดประโยชน์สูงสุด. หากบัณฑิตทุกคนตั้งใจพยายาม ประพฤติปฏิบัติให้ได้ดังที่กล่าว โดยใช้ความรู้และทักษะที่ได้ฝึกฝนอบรมมา เป็นพื้นฐานอันหนักแน่นมั่นคงแล้ว ก็เชื่อได้ว่า จะสามารถสร้างสรรค์ความเจริญมั่นคงให้แก่ชาติบ้านเมืองได้ สมกับที่เป็นกำลังสำคัญในสายงานนี้อย่างแท้จริง ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขออวยพรให้บัณฑิตทุกคน และทุกท่านที่มาร่วมในพิธีนี้ มีความสุขสวัสดีโดยทั่วกัน พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ท่านประธานองคมนตรีมาปฏิบัติภารกิจแทนพระองค์ ในพิธีมอบปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ในวันนี้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม แก่ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษา ผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา คณาจารย์ บัณฑิต และผู้เข้าร่วมพิธีโดยทั่วกัน

นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า ในปีการศึกษา 2566 มีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตสาขาวิชาต่าง ๆ จำนวน 39 สาขา จากสถาบันการอาชีวศึกษา 22 แห่ง รวมทั้งสิ้น 4,139 คน และมีผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งสภาสถาบันการอาชีวศึกษา อนุมัติปริญญาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 5 คน ดังนี้ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคเหนือ ได้แก่ นายเทียน กล่ำบุตร สาขาวิชาการโรงแรม สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 ได้แก่ นายสมพูน ถนอมมงคล สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก ได้แก่ นายเกียรติศักดิ์ นิยมลาภ สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 ได้แก่ นายพิพัฒน์ แซ่ลิ้ม และสาขาวิชาช่างทองหลวง สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ได้แก่ นายนิคม นกอักษร
สถาบันการอาชีวศึกษา เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพ และเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 23 แห่ง ภารกิจหลักมุ่งเน้นจัดการศึกษา ด้วยระบบทวิภาคีคุณภาพสูง พัฒนาหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคตของประเทศ โดยใช้กลไกความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับภาคประกอบการ ภาคีเครือข่ายทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งยังส่งเสริมการวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี การบริการวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

 

 
 

 ระบบ RMS

  ระบบห้องสมุด


 ระบบศธ.02 


 ระบบสมัครเข้าศึกษาต่อ

โรงแรมดาหลาวิลล์


|| ข่าวประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา


  1. ข่าวอัพเดท
  2. จัดซื้อจัดจ้าง
  3. รับสมัครงาน
  4. ชมรมวิชาชีพนักศึกษา

Lorem Ipsum ...

 

ชมรมวิชาชีพเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา
ขอเชิญชวน ครู นักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารสนเทศและดิจิทัล ในวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 8.30-16.00 น. ณ ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 615 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา

 

ด้วยชมรมวิชาชีพการจัดการสำนักงาน องค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา กำหนดจัดโครงการแข่งขันทักษะพิมพ์ไทย - อังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์ ในวันพุธที่ 14 สิงหาคม 2567 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 633 และ 634 จึงขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมโครงการจัดแข่งขันทักษะวิชาชีพ

 

ชมรมวิชาชีพเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล ขอเชิญเช้าร่วมอบรมตามโครงการฝึกมารยาทการเข้าร่วมสังคม ในวันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30-12.00 ณ ห้องโสตทัศนศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา

ชมรมวิชาชีพเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ขอเชิญชวน ครู นักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมโครงการส่งเสริมภาวะผู้นำ ในวันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567 เวลา 8.30-12.00 น. ณ ห้องโสตทัศนศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา

โครงการหลังคาเขียว ดำเนินการโดยชมรมวิชาการบัญชี

green


||  วารสารตะแบกสัมพันธ์  || 


" ประจำปี2567

" ประจำเดือนตุลาคม

" ประจำเดือนพฤศจิกายน

" ประจำเดือนธันวาคม

" ประจำเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2568

" พื้นที่ประชาสัมพันธ์วรสาร


||  แนะนำข้อมูลของสาขาที่เปิดสอน  || 


พันธกิจ

เป้าหมายของเรา

ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงสู่ตลาดแรงงาน

พันธกิจที่ 1 พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีคุณภาพและเป็นมาตรฐานด้วยหลักธรรมาภิบาล

พันธกิจที่ 2 พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะวิชาชีพและมีคุณธรรมจริยธรรมสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

พันธกิจที่ 3 ส่งเสริมครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีสมรรถนะหลักและสมรรถนะด้านวิชาชีพอย่างเป็นมาตรฐาน

พันธกิจที่ 4 สนับสนุนการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ

พันธกิจที่ 5 ยกระดับเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาและบริการวิชาการวิชาชีพสู่ชุมชน


 นางอมรรัตน์  จันวัฒนะ
ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา


 

||   ABOUT SCHOOL  ||

แนะนำวิทยาลัย

    วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา จัดตั้งขึ้นบนเนื้อที่ราชพัสดุ จำนวน 7 ไร่ 6.8 ตารางวา และในปี พ.ศ. 2518 ได้ขอใช้ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพิ่มอีกจำนวน 4 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา รวมเนื้อที่ทั้งหมด 11 ไร่ 1 งาน 56.8 ตารางวา เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2481 มีชื่อว่า “โรงเรียน ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสงขลา” สังกัดกรมวิชาการ กระทรวงธรรมการ

 

โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 เข้าเรียนวิชาแผนกช่างเย็บเสื้อผ้า แผนกช่างทอผ้า ส่วนสถานที่เรียนต้องแยกกันเรียน คือ แผนกช่างเย็บเสื้อผ้าใช้อาคารชั้นล่างของบ้านพักศึกษาธิการจังหวัดเป็นสถานที่เรียน (บริเวณวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลาในปัจจุบัน)

||  รองผู้อำนวยการสถานศึกษา  ||

| วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา


 
นางอนงค์นาถ เจริญศรี
รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานฯ

เบอร์โทร : 074-311202 ต่อ 519

 
นายกรีฑา ดิษโสภา
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

เบอร์โทร : 074-311202 ต่อ 516

 
นายธีระ  โพธิ์ทอง
รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาฯ

 เบอร์โทร : 074-311202 ต่อ 521

 
นายสุวิทย์ เชยบัวแก้ว
รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากร

เบอร์โทร : 074-311202 ต่อ 512


||  Fanpage ||


| งานประชาสัมพันธ์

วันอังคาร, 22 กรกฎาคม 2568 11:49

||   GOOGLE CALENDER   ||

ปฏิทินกิจกรรม